โมเดลธุรกิจ “Cloud Kitchen” หนทางการอยู่รอดของร้านอาหารยุค “New Normal”
admin
February 14, 2022
เมื่อการขยายสาขารวมถึงการสร้างธุรกิจร้านอาหารใหม่ต้องใช้ต้นทุนสูงไม่ว่าจะเป็นค่าเช่าร้าน ค่าพนักงานค่าเฟอร์นิเจอร์ค่าก่อสร้าง และค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่นๆอีกมากมาย มันจะดีกว่าไหมถ้าไม่ต้องจ่ายแพงแต่สามารถทดลองตลาดและสร้างกำไรได้เหมือนกัน
“Cloud Kitchen” หรือเรียกอีกชื่อว่า “Ghost Kitchen” ซึ่งก็คือโมเดลธุรกิจของร้านอาหารที่กำลังมาแรงที่สุดในตอนนี้ มีคอนเซปต์ง่ายๆก็คือการสร้างพื้นที่ห้องครัวและอุปกรณ์ครัวให้เช่าสำหรับร้านอาหารต่างๆโดยจะใช้ห้องครัวร่วมกัน ซึ่งทำมาเพื่อสนับสนุนการขายแบบเดลิเวอรี่โดยเฉพาะ และจ่ายค่าเช่าเป็นเปอร์เซ็นต์จากการขายหรืออื่นๆตามข้อตกลง โดยไม่ต้องมีหน้าร้านก็สามารถเปิดร้านอาหารและขยายสาขาได้ ซึ่งข้อดีหลักๆก็คือ
- ช่วยลดต้นทุนจากการขยายสาขา
- สามารถขยายฐานลูกค่าได้รวดเร็วขึ้น
- ค่าใช้จ่ายโดยรวมและต่อเดือนที่ลดลง
หลังจากที่เรารู้คร่าวๆแล้วว่า ”Cloud Kitchen” นั้นคืออะไร งั้นก็มาทำความรู้จักกับประเภทของ “Cloud Kitchen” ทั้งหมดกัน โดยทั่วไปคนอาจจะคิดว่า “Cloud Kitchen” นั้นมีแค่รูปแบบเดียว แต่จริงๆแล้ว “Cloud Kitchen” นั้นมีถึง 7 รูปแบบด้วยกัน ซึ่งก็คือ
1. Stand-alone Cloud Kitchen
คือการมี “หนึ่งร้าน” ต่อ “หนี่งครัว” ซึ่งรูปแบบนี้เราจะสามารถให้ลูกค้าสั่งผ่านแอพพลิเคชั่นของเราหรือแอพเดลิเวอรี่ที่มีอยู่ในท้องตลาดก็ได้ เป็นรูปแบบยอดฮิตของการขยายสาขาของร้านอาหารขนาดเล็ก โดยส่วนใหญ่ผู้ประกอบการมักจะเป็นเจ้าของพื้นที่และจัดการเองทั้งหมด ซึ่งทำให้มีสิทธิ์ในการตัดสินใจที่จะเข้าร่วมกับแอพเดลิเวอรี่ได้หลายแอพตามใจต้องการ
2.Multi-Brand Cloud Kitchen
จะมีรูปแบบคล้ายๆStand-alone Kitchen(เจ้าของแบรนด์เป็นเจ้าของพื้นที่และจัดการเองทั้งหมด) แต่เปลื่ยนรูปแบบจาก “หนึ่งร้าน” ต่อ “หนี่งครัว” ไปเป็น “หลายร้าน” ต่อ “หนี่งครัว” ซึ่งจะทำให้ครัวเดียวแต่สามารถใช้ได้หลายร้าน เหมาะกับผู้ประกอบการที่มีหลายแบรนด์แต่ไม่อยากใช้เงินลงทุนเพิ่มเยอะ ข้อดีคือ ต้นทุน หรือ Fixed Cost เท่าเดิมแต่มีโอกาสสร้างรายได้เพิ่มขึ้น เพราะว่า ใช้สถานที่เดิม พนักงานคนเดิม แค่ซื้อวัตถุดิบเพิ่มขึ้น ทำให้สร้างรายได้ต่อหน่วยเพิ่มมากขึ้น รวมถึงสามารถ Cross เมนูระหว่างร้าน ทำให้เพิ่มโอกาสที่ลูกค้าจะสั่งซื้อสินค้าในจำนวนที่มากขึ้นตามไปอีกด้วย รูปแบบนี้น่าจะเป็นเทรนด์ในอนาคต
3.Shard Cloud Kitchen หรือ Co-Kitchen Cloud Kitchen
คือการที่ ”หลายร้านใช้ครัวเดียวกัน” โดยมีคนกลางซึ่งพัฒนาพื้นที่นั้นแล้วปล่อยล็อคให้เช่าสำหรับร้านต่างๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายของผู้เช่าพื้นที่จะมีทั้งค่าเช่าร้านเดือน Fixed Cost และ ค่าGP on top&ค่าGP delivery ซึ่งจะเป็นค่าจัดการต่างๆ เพิ่มเติมคือทางผู้ปล่อยเช่าจะช่วยทำตลาดให้ทางผู้มาเช่าเพิ่มด้วย ข้อดีคือ เงินลงทุนจะน้อยกว่าการเป็นเจ้าของพื้นที่เองเพราะไม่ต้องรีโนเวทเองและลดค่าใช้จ่ายเบื้องต้นอื่นๆ สามารถแค่นำเฟอร์นิเจอร์บางส่วนและวัตถุดิบเข้ามาประกอบอาหารและเริ่มทำธุรกิจได้เลย และถ้าลงทุนไปแล้วมันไม่เวิร์ค ผู้มาเช่าสามารถเลิกทำโดยเสียเงินลงทุนน้อยกว่าแบบที่เป็นเจ้าของพื้นที่เอง
4.Virtual Restaurant
รูปแบบนี้ไม่เหมือนCloud Kitchenรูปแบบอื่น คือไม่ต้องเช่าพื้นที่เพิ่ม ซึ่งจะใช้พื้นที่ครัวจากหน้าร้านเดิมที่เปิดบริการอยู่แล้ว อธิบายง่ายๆก็คือ แค่คิดแบรนด์เพิ่มแต่ใช้พนักงานเดิม และใช้ครัวจากหน้าร้านเดิมที่เปิดบริการอยู่แล้ว ซึ่งอาจจะใช้วัตถุดิบเดิมที่มีอยู่แล้วก็ย่อมได้ เช่น ผู้ประกอบการเปิดร้านชาบูอยู่แล้ว ซึ่งก็มีวัตถุดิบหมู หมึก กุ้ง และอื่นๆสต้อคไว้ แต่อยากลองขายข้าวแกงด้วย ก็สามารถใช้วัตถุดิบร่วมกันที่ต้องทำเพิ่มก็คือแพคเกจจิ้งเท่านั้นเหมาะกับร้านอาหารที่ต้องการแตกคอนเซ็ปท์ใหม่ๆแล้วCapacityในครัวยังเหลือ เพราะแทบไม่ต้องใช้เงินลงทุนเลย ถ้าผลตอบรับดีเกินคาดแล้วค่อยไปทำ “Cloud Kitchen” เพิ่มทีหลังก็ย่อมได้
5.Hybrid Cloud Kitchen
คือ เปิดให้ลูกค้าสั่งซื้อทั้งทางหน้าร้านและเดลิเวอรี่ แต่หน้าร้านจะขายในรูปแบบTake awayเท่านั้น เหมาะกับร้านที่ได้พื้นที่เช่าครัวที่อยู่ในแหล่งชุมชน เช่น ตึกแถวในเมือง ซึ่งแทนที่จะปิดหน้าร้าน ก็เปิดหน้าร้านขายแบบ Take awayให้ลูกค้าที่เดินผ่านหน้าร้านซื้อกลับไปกินที่บ้าน เป็นช่องทางการสร้างรายได้เพิ่มขึ้นแทน แต่ก็มีข้อเสียคือใช้เงินลงทุนเพิ่มขึ้น เพราะต้องตกแต่งหน้าร้าน เช่นพวกเคาท์เตอร์ ที่นั่งรอ รวมถึงพนักงานที่เพิ่มขึ้น แต่ข้อดีอีกข้อก็คือได้ปฏิสัมพันธ์แบรนด์กับลูกค้าเพิ่มขึ้น ซึ่งรูปแบบนี้นั้นมีตัวอย่างในไทยแล้ว เช่น Pizza hut , Pizza company คิดว่ารูปแบบนี้น่าจะเหมาะกับเมืองไทยที่สุด
6.Delivery App Owned Cloud Kitchen
คือ เดลิเวอรี่จะเป็นคนเช่าพื้นที่ และรีโนเวทเองทั้งหมด และไปชวนร้านอาหารต่างๆมาเข้าร่วมCloud Kitchenนี้ รวมถึงจะช่วยโปรโมท หาลูกค้า ทำการตลาด และทำการจัดส่งด้วย ซึ่งข้อดีก็คือเจ้าของร้านอาหารแทบไม่ต้องลงทุนเองเลย เพราะทางแอพเดลิเวอรี่จะจัดการให้หมดทุกอย่าง แค่นำวัตถุดิบและพนักงานไปเริ่มทำอาหารได้เลย แต่ข้อเสียคือ ไม่สามารถเข้าร่วมกับแอพอื่นได้ ซึ่งต้องเป็น Exclusiveกับแอพเดลิเวอรี่ที่เข้าร่วมเท่านั้นและอาจจะต้องเสียเรทของGP(On top) กับ GPปกติเพิ่มขึ้นประมาณ5% เพราะเค้าช่วยทำการตลาดและอื่นๆ
7.Outsourced Cloud Kitchen
คือ รูปแบบที่เปิดCloud Kitchenเอง แต่ไม่จัดการระบบเอง โดยจ้างคนนอกมาช่วยจัดระบบงานต่างๆ เช่นการจัดการStockและสั่งซื้อวัตถุดิบ จัดการwasteวัตถุดิบต่างๆ โดยไม่ต้องกังวลว่าพนังงานจะขโมยวัตถุดิบไปขาย ข้อดีคือOperations Costต่ำลง เพราะไม่ต้องจัดการวัตถุดิบเองและสูญเสียวัตถุดิบที่หมดอายุหรือขายไม่ได้ แต่ก็มีข้อเสียเช่นกัน นั่นก็คือ ต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น แต่ถ้าผู้ประกอบการมีการทำMarketที่ดี ยกระดับBrandingของตัวเองได้ต่อให้ต้นทุนสูงก็สามารถยกระดับราคาอาหารให้เพิ่มสูงขึ้นตาม เพื่อกำไรที่มากขึ้นได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตามแต่ละรูปแบบของ “Cloud Kitchen” ต่างๆ ก็มีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะลงทุนมาก ลงทุนน้อย เหนื่อยมาก เหนื่อยน้อย และเรื่องของการจัดการระบบเองหรือให้คนนอกมาช่วยจัดการ ซึ่งMarginของกำไรก็จะไม่เท่ากัน มันก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบของธุรกิจร้านอาหารของผู้ประกอบการเองว่าธุรกิจของตนเองเหมาะกับรูปแบบไหน และสามารถรับความเสี่ยงได้แค่ไหนนั่นเอง
โดยโมเดลธุรกิจ “Cloud Kitchen” นี้เหมาะกับผู้ประกอบการร้านอาหารในยุค “New Normal” เป็นอย่างมาก เพราะตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสCovid-19 ตลาดเดลิเวอรี่ในประเทศไทยรวมถึงต่างประเทศและทั่วโลกก็ได้เติบโตอย่างก้าวกระโดด เนื่องมาจากผู้บริโภคในอุตสาหกรรมอาหารมีพฤติกรรมที่เปลื่ยนไป โดยผู้คนหันมาสั่งอาหารผ่านทางออนไลน์มากขึ้น ซึ่งทำให้จำนวนลูกค้าที่หน้าร้านมีจำนวนลดลง ทำให้ร้านอาหารบางแห่ง และการทดลองขยายสาขาไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านอีกต่อไป “Cloud Kitchen” จึงเป็นทางออกที่ดีของผู้ประกอบการร้านอาหารที่มีงบประมาณจำกัดเป็นต้น
ซึ่งตัวช่วยสำคัญเพื่อที่จะจัดการออเดอร์ให้ง่ายขึ้นและสะดวกสำหรับทั้งผู้ประกอบการร้านอาหารและไรเดอร์ก็ต้องยกให้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ของ “Sunmi TH” ซึ่งมีสินค้าที่หลากหลายคุณลูกค้าสามารถเลือกซื้อตามความต้องการได้เลย ไม่ว่าจะเป็น ตัวช่วยในการจัดการออเดอร์หน้าร้านและตัวช่วยในการจัดการออเดอร์ของเดลิเวอร์
โดยทางเราจะมานำเสนอในส่วนของเครื่องคิดเงินแบบพกพา ซึ่งมีชื่อว่า Sunmi V2 เป็นเครื่องคิดเงินและสามารถพิมใบเสร็จได้ในตัว โดยจะมาช่วยแก้ปัญหาคิดเงินผิด ต้องมานั่งจดออเดอร์เองแบบเดิมๆซึ่งไม่สะดวกและรวดเร็ว ยอดเงินหาย จำออเดอร์ไม่ได้ ยอดเงินไม่ตรงกับยอดขาย ซึ่งตัว V2 จะมาแก้ปัญหาเหล่านั้นให้หมดไป เหมาะมากๆกับผู้ประกอบการต่างๆและไรเดอร์ที่ต้องการจัดการยอดขายทั้งหน้าร้านและรับออเดอร์เดลิเวอรี่แบบไม่มีสะดุด สะดวก รวดเร็ว ทันใจ ด้วยฟังก์ชันการใช้การที่หลากหลาย
- สามารถใช้งานร่วมกับมือถือส่วนตัว ios หรือ android
- ฟรีโปรแกรมขายหน้าร้านลงรายการสินค้า
- ฟรีกระดาษพิมพ์ใบเสร็จ 10 ม้วน
- เครื่องคิดเงิน พร้อมพิมพ์ใบเสร็จได้ในตัว รองรับการขาย ทุกประเภท
- สามารถใช้งานทั้งออนไลน์และออฟไลน์
- เช็คยอดขาย ได้แบบ เรียลไทม์ หรือ เลือกช่วงเวลาที่ต้องการได้
- ตรวจดูและแก้ไขสตอคได้
- มีระบบเเจ้งเตือนสต็อกใกล้หมด
- รับออร์เดอร์ เปิดบิล ปิดบิล เปิดโต๊ะ จองออเดอร์
- สร้างระบบ สมาชิก ดูประวัติการมาใช้บริการ ยอดรวม คะแนน สะสม สร้างโปรโมชั่นให้ลูกค้า
- รองรับการใส่ซิมการ์ด 4G หรือใช้งานผ่านWIFI
- รองรับการใช้งานแอปออนไลน์ต่างๆ สามารถ เปิด รับอออรเดอร์ได้พร้อมกัน
- สามารถ ใช้งานร่วมกับมือถือส่วนตัว ios หรือ android
- ระยะเวลาในการรับประกัน 1 ปี
ซึ่งสามารถสั่งซื้อง่ายๆได้ที่ https://sunmith.com/shop/sunmi-v2-เครื่องคิดเงิน-พิมพ์ใบ/
หรือสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 02-114-7173
Line ID: @sunmith
Facebook: www.facebook.com/SUNMIPAGE
Website: https://www.sunmith.com
Shop: https://shopee.co.th/shop/35537450
Email: contact@sunmith.com